สรุปวัฒนธรรมประเพณี อาหารภาคอีสาน
สรุป
สภาพภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานมีผลต่ออาหารการกินของคนท้องถิ่น
อย่างมาก เนื่องจากพื้นที่บางแห่งแห้งแล้ง วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารซึ่งหาได้ตามธรรมชาติส่วนใหญ่
ได้แก่ ปลา แมลงบางชนิด พืชผักต่าง ๆ
การนำวิธีการถนอมอาหารมาใช้เพื่อรักษาอาหารไว้กินนาน ๆ
จึงเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีพของคนอีสาน
ชาวอีสานจะมีข้าวเหนียวนึ่งเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับภาคเหนือ
เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหาร ได้แก่ สัตว์ที่หามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ แมลงต่าง ๆ
ที่มาของรสชาติอาหารอีสาน เช่น รสเค็มได้จากปลาร้า รสเผ็ดได้จากพริกสดและพริกแห้ง
รสเปรี้ยวได้จากมะกอก ส้มมะขาม และมดแดง
ในอดีตคนอีสานนิยมหมักปลาร้าไว้กินเองเพราะมีปลาอุดมสมบูรณ์
ประกอบกับเป็นแหล่งเกลือสินเธาว์ ทำให้การทำปลาร้าเป็นที่แพร่หลายมาก
จากปลาร้าพื้นบ้านอีสานได้มีการพัฒนาทั้งวิธีการทำและรสชาติ
จนกลายเป็นตำรับปลาร้าที่ส่งขายต่างประเทศในปัจจุบัน
ส้มตำ เป็นอาหารคาวของไทยอย่างหนึ่ง
มีต้นกำเนิดไม่แน่ชัดโดยน่าจะมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทยและ ประเทศลาว ส่วนมากจะทำโดยนำมะละกอดิบที่ขูดเป็นเส้น
มาตำในครกกับ มะเขือลูกเล็ก ถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้ง พริก และกระเทียม
ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา ปูดองหรือปลาร้า ให้มีรสเปรี้ยว เผ็ด
และออกเค็มเล็กน้อย นิยมกินกับข้าวเหนียวและไก่ย่าง โดยมีผักสด เช่น กระหล่ำปลี
หรือถั่วฝักยาว เป็นเครื่องเคียง ร้านที่ขายส้มตำ
มักจะมีอาหารอีสานอย่างอื่นขายร่วมด้วย เช่น ซุปหน่อไม้ ลาบ น้ำตก ไก่ย่าง
ข้าวเหนียว เป็นต้น ส้มตำเป็นอาหารที่แพร่หลายและนิยมรับประทานไปทุกภาค
ยังให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชนิพนธ์เพลงส้มตำขึ้นมา
ซุปหน่อไม้
เป็นอาหารที่เป็นที่นิยมของชาวอีสานเช่นกัน
ซึ่งสามารถหากินได้แทบจะทุกจังหวัด
แต่กรมวิธีในการปรุงซุปหน่อไม้นั้นอาจจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละถิ่น
แต่ก็ไม่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ซุปหน่อไม้ก็เช่นเดียวกับอาหารอื่นๆของภาคอีสานคือจะมีรสจัดจ้าน
และมีเครื่องปรุงหลักที่ขาดไม่ได้เลยคือ น้ำปลาร้า
เรียกได้ว่าชาวอีสานทุกครัวเรือน จะต้องมีน้ำปลาร้าประจำอยู่ในครัว
ถ้าไม่มีอาหารอะไรก็จะเอาปลาร้ามาตำน้ำพริกรับประทานกับผักสดที่ปลูกอยู่ข้างบ้าน
ถือเป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่ายอย่างหนึ่งของชาว อีสาน ที่มีลักษณะการดำรงชีวิตแบบง่ายๆ คือ
อยู่ง่ายๆ
กินง่ายๆและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่รอบๆตัวให้เกิดประโยชน์สูงสุดและรู้จักประยุกต์ใช้ทรัพยากรหลายๆด้วย
แจ่วบอง หมายถึง
ปลาร้าสับใส่เครื่องเทศ พริก หอมกระเทียม คั่วคลุกเคล้าให้เข้ากัน
มั่ม คือไส้กรอกอีสาน
ใช้เนื้อวัวสับหรือตับที่เรียกว่า "มั่มตับ"
นำมายัดใส่ในกระเพาะปัสสาวะของวัว
อาหารประจำท้องถิ่น
ในปัจจุบัน อาหารจากภาคอีสาน ถือเป็นอาหารยอดนิยมที่แพร่หลายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งเมนูที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี ได้แก่ เมนูส้มตำ โดยเฉพาะส้มตำไทย ที่สามารถรับประทานได้ทุกที่ ทุกเวลา เนื่องจากส้มตำมีส่วนประกอบหลักคือผัก และสามารถรับประทานคู่กับ ข้าวเหนียว ข้าวสวย ขนมจีน ได้ตามที่ต้องการ
นอกจากเมนูส้มตำแล้ว อาหารอีสานที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ได้แก่ ลาบ ก้อย ข้าวเหนียวไก่ย่าง ปลาร้าหลน ข้าวจี่ ผัดหมี่โคราช แกงอ่อม แกงผักหวานไข่มดแดง เป็นต้น
ในปัจจุบัน อาหารจากภาคอีสาน ถือเป็นอาหารยอดนิยมที่แพร่หลายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งเมนูที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี ได้แก่ เมนูส้มตำ โดยเฉพาะส้มตำไทย ที่สามารถรับประทานได้ทุกที่ ทุกเวลา เนื่องจากส้มตำมีส่วนประกอบหลักคือผัก และสามารถรับประทานคู่กับ ข้าวเหนียว ข้าวสวย ขนมจีน ได้ตามที่ต้องการ
นอกจากเมนูส้มตำแล้ว อาหารอีสานที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ได้แก่ ลาบ ก้อย ข้าวเหนียวไก่ย่าง ปลาร้าหลน ข้าวจี่ ผัดหมี่โคราช แกงอ่อม แกงผักหวานไข่มดแดง เป็นต้น
เมนูอาหารของภาคอีสาน
เมนูอาหารของคนภาคอีสานเป็นผู้ที่กินอาหารได้ง่าย
มักรับประทานได้ทุกอย่าง เนื่องจากภาคอีสาน มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้ง
เป็นที่ราบสูง มีแม่น้ำสายใหญ่ และมีเทือกเขาสูงในบางแห่ง
ขาดความอุดมสมบูรณ์กว่าภาคอื่นๆ
เพื่อการดำรงอยู่ของชีวิตในการปรับตัวให้สอดคล้องกับ ธรรมชาติ
คนภาคอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆ ที่รับประทานได้ในท้องถิ่น
นำมาดัดแปลงรับประทาน หรือประกอบเป็นอาหารทั้งพืชผักจากป่าธรรมชาติ ปลาจากลำน้ำ
และแมลงต่างๆ หลายชนิด คนอีสานส่วนมากจะมีรสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว
คนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียว กับอาหารพื้นบ้านที่มีรสจัดและน้ำน้อย
วิธีปรุงอาหารพื้นบ้านอีสานมีหลายวิธี คือ ลาบ ก้อย จํ้า จุ๊ หมก อู่ เอ๊าะ อ่อม
แกง ต้ม ซุป เผา กี่ ปิง ย่าง รม ดอง คั่ว ลวก นึ่ง ตำ แจ่ว ป่น เมี่ยง
ซุปหน่อไม้ หน่อไม้เป็นอาหารที่นิยมทุกภาค
คนไทยนำหน่อไม้มาลวกหรือต้มให้สุกก่อนที่จะรับประทาน
อาจเนื่องมาจากหน่อไม้ดิบจะออกรสขื่นขม ประกอบกับในหน่อไม้ดิบ
หากรับประทานดิบ อาจเกิดพิษต่อร่างกายได้ คนสมัยก่อนจึงทำให้ สุกก่อน
อ่อม เป็นลักษณะคล้ายการแกงอ่อมภาคกลาง
เนื่องจากแกงอ่อมของ ภาคอีสานมักไม่ใส่มะระ ซึ่งมีลักษณะน้ำข้น
ใส่ผักหลายชนิดรวมกัน ต้มให้เปื่อย ถ้าใส่บวบที่มี เมล็ดข้างในสีขาว ไม่แก่จัด
จะเพิ่มความอร่อยเมื่อเคี้ยว เมล็ดบวบ เนื้อสัตว์ทุกชนิดสามารถนำมา
ทำแกงอ่อมได้ทั้งสิ้น
ลาบ เป็นอาหารประเภทหนึ่งที่ใช้ปลาหรือเนื้อดิบสับให้ละเอียด
ผสมด้วย เครื่องปรุง มีพริก ปลาร้า เป็นต้น ถ้าใส่เลือดวัวหรือเลือดหมูเรียกว่า
ลาบเลือด ชาวอีสานทุกครัว เรือนมักนิยมทำอาหารประเภทลาบในงานบุญต่างๆ เช่น งานแต่ง
งานบวช งานศพ งานทำบุญ ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
น้ำพริกปลาร้า ปลาร้า
หนึ่งในอาหารหมักหลายๆ ชนิดที่มักมองว่าเป็นอาหาร ที่มีกระบวนการทำที่ไม่ค่อยสะอาด
มีกลิ่นที่ไม่น่าพิสมัย หลายคนในเมืองจึงปฏิเสธที่จะกินอาหาร ชนิดนี้อย่างสินเชิง
โดยหารู้ไม่ว่าปลาร้าก็มีประโยชน์ทางด้านโภชนาการเหมือนกัน
ลาบหมูข้าวหอมนิลมาพบกับเมนูลาบหมูอีกจาน
แต่เพิ่มความพิเศษด้วยการใส่ข้าวหอมนิลลงไป กลายเป็นลาบหมูข้าวหอมนิลสูตรจาก เนื้อหมูสับคลุกเคล้ากับข้าวหอมนิลและเครื่องลาบ
ดูหน้าตาน่ากินเหมือนกันนะเนี่ย เป็นอีกเมนูที่อยากให้ลองทานเมื่อมาเที่ยวหรือ
ผ่านมาแถวภาคอีสาน
ลาบแจ่วบองทอดใครที่ติดใจกับลาบหมูทอดอยากให้มาลองลาบแจ่วบองทอด ประยุกต์จากลาบหมูทอด
แต่เพิ่มความพิเศษที่ใส่แจ่วบองลงไปด้วย รสชาติโดยรวมเผ็ดกำลังดี
ไม่เหม็นกลิ่นปลาร้าด้วย ถ้าใครไม่กินปลาร้าแต่ถ้าได้มาลองจะติดใจแน่นอน
ต่อมาก็จะเป็นเมนูของว่างกันบ้าง
ข้าวต้มมัดหรือข้าวต้มผัดของชาวอีสานเป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน
ใส่ไส้กล้วยนำไปนึ่งให้สุก
ทางภาคใต้ใช้ข้าวเหนียวกับน้ำกะทิ ห่อด้วยใบพ้อ เรียกห่อต้ม ถ้าห่อด้วยใบมะพร้าว
และมัดด้วยเชือกเรียกห่อมัด ขนมแบบเดียวกับข้าวต้มยังพบในประเทศอื่นอีก
เช่นในฟิลิปปินส์เรียก อีบอส หรือซูมัน
ที่แบ่งย่อยได้หลายชนิดเช่นเดียวกับข้าวต้มมัดของไทย
มะขามกวนมีส่วนประกอบของน้ำตาล
หัวกะทิ เนื้อมะพร้าวและนมข้นหวานซึ่งเป็นอาหารที่ให้สาร
อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตให้พลังงาน มะขามเปรี้ยวมีสารที่ช่วยระบายท้อง
มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอ่อน ๆ จึง ช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย
ปัจจุบันชาวบ้านจึงนำมะขามเปรี้ยวมาแปรรูปเป็นมะขามกวน ผลิตภัณฑ์ที่
ได้มีรสแปลกไปจากเดิม รสชาติอร่อย เป็นที่ชื่นชอบ ของผู้บริโภค
ปัจจุบันมะขามกวนเป็นสินค้าของฝากพื้น
เมืองที่ทำรายได้ให้กับผู้ผลิตไม่น้อยไปกว่ามะขามหวาน
คำว่า ปาด
หมายถึง เอามีดมาตัดข้าวที่กวนแล้วที่เทใส่กระดง หรือ ถาด เป็นแผ่นใหญ่ ทำ
ให้เป็นแผ่นเล็กๆ โดยใช้มีปาดให้เป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เป็นคำๆ
ข้าวปาดนิยมทำกันในเทศกาล งานบุญต่างๆ เช่น ทำ บุญขึ้นบ้านใหม่ งานออกพรรษา
งานบุญกฐิน ฯลฯ มีความเชื่อว่าข้าวปาดถ้าใครได้กินแล้วจะเป็น มงคลในชีวิต
คิดประสงค์สิ่งใดจะสำ เร็จลุล่วงทุกประการ ส่วนประกอบ วัตถุดิบอาหาร แป้งข้าวเจ้า 1 กิโลกรัม
นํ้าตาลปี๊บ 150 กรัม
นํ้าตาลทราย 850 กรัม
กะทิสด (หัวและหางรวมกัน) 3 ลิตร
นํ้าใบเตย 150 กรัม
เกลือ 1 ช้อนชา
งาขาวคั่ว 35 กรัม
ข้าวปาด 32 วัฒนธรรมอาหารไทย
: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปรุง 1. ใส่นํ้ากะทิลงในกระทะใบบัว
ใส่แป้งข้าวเจ้าคนให้เข้ากัน กวนด้วย ไม้พายไปเรื่อยๆ จนเดือด 2. ใส่นํ้าตาลปี๊บ
นํ้าตาลทรายคนจนข้น 3. เติมนํ้าใบเตย
แป้งงวดไม่ติดกระทะ โรยงาขาวคั่วตักใส่หวดหรือกระด้ง ที่เตรียมไว้
พักทิ้งไว้ให้เย็น 4. ตัดเป็นสี่เหลี่ยมเหมือนขนมเปียกปูน
ประโยชน์เชิงสุขภาพ ประโยชน์ทางอาหาร ให้พลังงาน คาร์โบไฮเดรท และไขมัน
สรรพคุณทางยา บำ รุงร่างกาย
ข้าวหลาม หมายถึง
การที่เอาวัตถุทรงกระบอกไปเผาไฟโดยภายในกระบอกใส่ อาหารหรือเมล็ดธัญพืชเป็นต้นว่า
ข้าวสาร ถั่ว งา มัน มะพร้าว คลุกเคล้ากันแล้ว กรอกลงในกระบอก นำ ไปเผาไฟจนสุก
มีความเชื่อกันว่า ถ้าผู้ใดได้กินข้าวหลาม หรืออาหารประเภทหลามแล้ว
จะปราศจากโรคภัย ร่างกายทุกส่วนทำ งานปกติ เพราะอาหารประเภทหลามนั้น มีวิตามิน
โปรตีน เกลือแร่ ต่างๆ ไม่สูญหายไปไหน ส่วนประกอบ วัตถุดิบอาหาร
ข้าวสารเหนียวแช่นํ้า 1 กิโลกรัม
ถั่วดำ 200 กรัม
เผือกหั่นเป็นชิ้นเล็ก 200 กรัม
หัวกะทิ 2 กิโลกรัม
นํ้าใบเตยคั้นสด 100 มิลลิลิตร
นํ้าตาลทราย กิโลกรัม เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
กระบอกไม้ไผ่ยาว 50 ซม. 10 กระบอก ข้าวหลาม 34 วัฒนธรรมอาหารไทย
: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปรุง 1. นำข้าวเหนียว
ถั่วดำ เผือก คลุกเคล้าให้เข้ากัน กรอกใส่กระบอกไม้ไผ่ 2. นำ นํ้าตาล
เกลือ ใบเตย ใส่ภาชนะกวนจนนํ้าตาลละลายจนหมด 3. นำ
ไปกรอกลงในกระบอกไม้ไผ่จนท่วมข้าวในกระบอก จากนั้นนำ ไป เผาไฟใช้เวลาประมาณ 30 นาที
ประโยชน์เชิงสุขภาพ ประโยชน์ทางอาหาร พลังงาน คาร์โบไฮเดรท และไขมัน สรรพคุณทางยา
บำ รุงร่างกาย
วัฒนธรรมประเพณี อาหารอีสาน
เป็นดินแดนที่ค่อนข้างแห้งแล้ง
ทำให้อาหารพื้นเมืองจึงเป็นอาหารพวกแมลงหลายชนิด
ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่หล่อเลี้ยงชีวิตประชากรในภาคนี้อาหารอีสานส่วนใหญ่จะมีข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก
ส่วนพืชผัก และเนื้อสัตว์ที่นำมาใช้ประกอบอาหารได้มาจากภายในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่อาหารอีสานมักใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงรสในอาหารเกือบทุกชนิด
แต่ไม่นิยมใส่ในอาหารประเภทผัด และมักรับประทานคู่กับผักสด
อาหารภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มีรสชาติเด่น คือ รสเค็มจากน้ำปลาร้า รสเผ็ดจากพริกสด พริกแห้ง รสเปรี้ยวจาก ผักพื้นบ้าน เช่น มะขาม มะกอก
อาหารส่วนใหญ่มีลักษณะแห้ง ข้น มีน้ำขลุกขลิก แต่ไม่ชอบใส่กะทิ คนอีสานใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงอาหารแทบทุกชนิด เช่น ซุปหน่อไม้ อ่อม หมก น้ำพริกต่างๆ รวมทั้งส้มตำ
อาหารภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มีรสชาติเด่น คือ รสเค็มจากน้ำปลาร้า รสเผ็ดจากพริกสด พริกแห้ง รสเปรี้ยวจาก ผักพื้นบ้าน เช่น มะขาม มะกอก
อาหารส่วนใหญ่มีลักษณะแห้ง ข้น มีน้ำขลุกขลิก แต่ไม่ชอบใส่กะทิ คนอีสานใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงอาหารแทบทุกชนิด เช่น ซุปหน่อไม้ อ่อม หมก น้ำพริกต่างๆ รวมทั้งส้มตำ
ประเพณีบุญข้าวจี่
บุญข้าวจี่
เป็นงานบุญประเพณีของชาวอีสาน ที่กระทำกันในเดือนสาม จนเรียกว่า บุญเดือนสาม
บุญข้าวจี่เป็นบุญประเพณีสำคัญที่มีกำหนดอยู่ในฮีตสิบสอง ดังรู้จักกันทั่วไปว่า
เดือนสามคล้อยจั่วหัวปั้นข้าวจี่
ข้าวจี่ คือ
ข้าวเหนียวนึ่งให้สุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนทาเกลือเคล้าให้ทั่ว
เอาไม้เสียบย่างไฟเหมือนไก่ย่าง
เมื่อข้าวสุกเกรียมแล้วก็เอาไข่ซึ่งตีไว้แล้วทาแล้วย่างซ้ำอีกกลายเป็นไข่เคลือบข้าวเหนียว
เสร็จแล้วถอดไม้ออกแล้วเอาน้ำอ้อยหรือน้ำตาลที่เป็นก้อนยัดใส่แทนกลายเป็นข้าวเหนียวยัดไส้
แล้วถวายพระเณรฉันตอนเช้าส่วนมากชาวบ้านจะรีบทำแต่เช้ามืด
พอสว่างก็ลงศาลาการเปรียญ (ชาวบ้านเรียกหัวแจก) นิมนต์พระเณรสวดแล้วฉัน
เป็นทั้งงานบุญและงานรื่นเริงประจำแต่ละหมู่บ้านเพราะได้ทำข้าวจี่ไปถวายพระหลังจากพระฉันแล้วก็เลี้ยงกันเองสนุกสนานมีคำพังเพยอีสานว่า เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นเข้าจี่
เข้าจี่บ่ใส่น้ำอ้อยจัวน้อยเช็ดน้ำตา
เดือนนี้ชาวนาส่วนใหญ่ถือกันตั้งแต่โบราณมาว่าเป็นเดือนสู่ขวัญข้าว
คือมีการถวายข้าวเปลือกพระและนิยมทำบุญบ้าน สวดมนต์เสร็จพิธีสงฆ์
แล้วก็สู่ขวัญข้าวตามธรรมเนียมพราหมณ์ บางบ้านก็ทำเล็กน้อยพอเป็นพิธี คือเอาข้าวไปถวายสงฆ์แล้วทำพิธีตุ้มปากเล้าเล็กน้อยเป็นการบูชาคุณของข้าวในเล้าหรือยุ้ง
ประเพณีข้าวต้มมัด
ข้าวต้มมัด
ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยเรา
ในอดีตนิยมทำเพื่อรับประทานกันภายในครอบครัวเสียเป็นส่วนใหญ่
นอกจากนั้นก็จะนิยมนำไปทำบุญถวายพระหรือใช้ในงานบุญงานเทศกาลต่างๆ
เช่นในวันออกพรรษา ก็มีการทำข้าวต้มมัดเพื่อไปทำบุญ
แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสม
กลายเป็นข้าวต้มลูกโยนที่เรารู้จักกันดีในปัจจุบัน
นอกจากนี้ช่วงที่มีงานบุญต้องการผู้มาช่วยงานเยอะจึงมีการชักชวนคนในหมู่บ้านมาช่วยกัน
ทำอาหาร ทำขนม และหน้าที่อื่นๆ ซึ่งนี่ก็เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ต้องการให้คนในชุมชนได้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
มีความร่วมมือมีความสามัคคีกันภายในชุมชน
ในอดีตสังคมไทยนั้นอาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่
มีความเอื้อเฟื้อแก่กันภายในหมู่บ้าน ภายในชุมชน บ้านไหนมีงานก็จะช่วยกัน
ข้าวต้มมัดก็จะพบได้ในงานสำคัญต่างๆทั้งงานของครอบครัว งานของชุมชน
งานประเพณีทางศาสนา และเทศกาลต่างๆ อย่างเช่น
หากมีการทำบุญที่วัดก็จะมีชาวบ้านในชุมชนมาช่วยกันทำอาหาร ทำขนม
ซึ่งข้าวต้มมัดก็เป็นหนึ่งในขนมที่ใช้ในประกอบพิธี
และเลี้ยงต้อนรับผู้ที่เดินทางมาทำบุญ รวมทั้งมอบให้เป็นของทานระหว่างเดินทางกลับเมื่อเสร็จสิ้นพิธีด้วย
ความเชื่อของคนในหมู่บ้านตรวจหมู่ที่ 15 ตำบลตรวจ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ มีความเชื่อว่าการทำข้าวต้มมัดเพื่อเป็นอาหารให้แก่บรรพบุรุษได้รับประทาน
ข้าวต้มมัดนี้จะใช้ในหลายพิธี เช่น แกลมอ วันสารท วันเข้าพรรษา ออกพรรษา งานกฐิน พิธีแต่งงาน งานบวช เป็นต้น พิธีต่างๆ เหล่านี้จะใช้ข้าวต้มมัดที่ทำจากใบตอง เนื่องจากหาง่าย สะดวกต่อการใช้ และเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
คนโบราณเชื่อกันว่าทำบุญด้วยข้าวต้มมัดจะดีในเรื่องความรัก
ถ้าทำด้วยใจบริสุทธิ์จริงแต่ถ้าใจหมกมุ่นก็จะไม่ได้ผล ตามตำนานกล่าวไว้ว่าข้าวต้มมัด
เป็นข้าวต้มที่พระอินทร์ทานกับนางสนม เมื่อมีความรักต่อกันต่อมาพระอินทร์รู้ว่านางสนมมีชู้ จึงดลบันดารให้ลูกของนางสนม เกิดมาเป็นข้าวต้มมัด เมื่อนางสนมคลอดบุตรก็เป็นข้าวต้มมัดนางสนมรังเกลียดลูกตนเองจึงนำมาทิ้งไว้ที่โลกมนุษย์วันหนึ่งก็มีตายายคู่หนึ่งเข้ามาในป่าและเจอข้าวต้มมัดที่นางสนมมาทิ้งไว้
จึงเก็บไปและลองทำดูจากนั้นข้าวต้มมัดก็เป็นที่แพร่หลายออกมาอย่างมาก
และคนก็นิยมรับประทานกัน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น